4 เรื่องต้องรู้! ยื่นภาษีออนไลน์ 2568 ให้ถูกต้อง ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด
ในฐานะที่เป็นมนุษย์เงินเดือนมีรายได้ หน้าที่หนึ่งสุดสำคัญคือยื่นภาษีหรือเสียภาษีประจำปี หลายคนที่เป็นมือใหม่เพิ่งทำงาน หรือคนเก่าที่ยังวุ่นกับงาน อาจจะหลงลืมเรื่องการยื่นภาษีออนไลน์ไปกันบ้าง เพื่อให้การยื่นภาษีออนไลน์ 2568 เกิดปัญหาน้อยที่สุด มาเช็ก 4 เรื่องสำคัญที่ต้องรู้ก่อนยื่นภาษีออนไลน์ปี 2568 ว่ามีอะไรบ้างได้ที่บทความนี้

ยื่นภาษีออนไลน์ 2568 คืออะไร? ใครบ้างต้องยื่นภาษีประจำปี
การยื่นภาษีออนไลน์ 2568 คือการแจ้งรายได้และคำนวณภาษีของปี 2567 ผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากร เพื่อทำตามกฎหมายที่ระบุเอาไว้ที่ว่า ‘ผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์จำเป็นต้องยื่นภาษี’ ไม่ว่าจะเป็น พนักงานประจำ ฟรีแลนซ์ หรือเจ้าของกิจการ เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดฉบับย่อของการยื่นภาษีออนไลน์ 2568 มีด้วยกัน 2 เงื่อนไขสำคัญ คือ
ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษีออนไลน์ประจำปี 2568
- ยื่นภาษีสำหรับคนโสด : พนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ตั้งแต่ 120,000 บาท/ปีขึ้นไป และผู้มีรายได้อื่นๆ ที่มีรายได้ตั้งแต่ 60,000 บาท/ปี ขึ้นไป
- ยื่นภาษีสำหรับคนที่สมรส : พนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ตั้งแต่ 220,000 บาท/ปีขึ้นไป และผู้มีรายได้อื่นๆ ที่มีรายได้ตั้งแต่ 120,000 บาท/ปีขึ้นไป
ดังนั้น ผู้มีรายได้ตรงตามเงื่อนไขนี้ต้องเตรียมเอกสารยื่นภาษี หรือมีเงินเดือนในฐานภาษีตามขั้นบันได
ก็ต้องเตรียมค่าลดหย่อนภาษีเอาไว้ จะได้เสียภาษีน้อยลง
เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท ที่ต้องยื่นภาษีคืออะไร
เงินได้พึงประเมิน คือ รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษีตามกฎหมาย เป็นรายได้ที่ได้จากการทำงาน การลงทุน หรือธุรกิจส่วนตัว หากเข้าข่ายตามที่กรมสรรพากรกำหนด ผู้มีรายได้จะต้องยื่นภาษีประจำปี ซึ่งเงินได้พึงประเมินทั้ง 8 ประเภท ได้แก่
- เงินได้ประเภท 1 : เงินเดือนและค่าจ้างประจำ เช่น เงินเดือน โบนัส บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าจ้างที่ได้รับจากนายจ้าง
- เงินได้ประเภท 2 : รายได้จากอาชีพอิสระ เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่านายหน้า เช่น ฟรีแลนซ์ นักแปล นักเขียน นักออกแบบ
- เงินได้ประเภท 3 : ค่าลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา เช่น รายได้จากค่าลิขสิทธิ์ งานเพลง งานเขียน ค่าความนิยม (Goodwill) หรือสูตรลับทางธุรกิจ
- เงินได้ประเภท 4 : ดอกเบี้ย เงินปันผล และผลประโยชน์จากการลงทุน เช่น รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก พันธบัตร เงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุน กำไรจากการขายหุ้น
- เงินได้ประเภท 5 : ค่าเช่าทรัพย์สิน เช่น รายได้จากการให้เช่าบ้าน คอนโด ที่ดิน รวมถึงค่าปรับจากการผิดสัญญาเช่า
- เงินได้ประเภท 6 : ค่าวิชาชีพอิสระ เช่น รายได้จากอาชีพเฉพาะทาง เช่น แพทย์ ทนายความ สถาปนิก วิศวกร นักบัญชี
- เงินได้ประเภท 7 : รายได้จากการรับเหมา เช่น รายได้จากงานรับเหมาก่อสร้าง งานรับจ้างทำของที่รวมค่าแรงและค่าวัสดุ
- เงินได้ประเภท 8 : รายได้จากธุรกิจ การค้า และอื่นๆ เช่น รายได้จากการทำธุรกิจ ขายของออนไลน์ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ขายกองทุนรวม หรือขายอสังหาริมทรัพย์

เตรียมให้ครบ! เอกสารที่ต้องมีก่อนยื่นภาษีออนไลน์ 2568
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้มีรายได้ต้องทำทุกปี ไม่ว่าจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91 การมีเอกสารครบถ้วนช่วยให้ขั้นตอนเร็วขึ้น ลดข้อผิดพลาด และอาจช่วยให้คุณได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีอย่างเต็มที่ ซึ่งเอกสาร ยื่นภาษีบุคคลธรรมดา 2568 ได้แก่
เอกสารหลักที่ต้องใช้ยื่นภาษีออนไลน์
การยื่นภาษีออนไลน์ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเตรียมเอกสารยื่นภาษีเอาไว้ ซึ่ง 3 เอกสารหลักที่ผู้มีเงินได้หรือคนที่ต้องเสียภาษีควรจะมีคือ
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
- สำหรับมนุษย์เงินเดือน นายจ้างจะออกให้ทุกต้นปี
- สำหรับฟรีแลนซ์หรือผู้มีรายได้จากการให้บริการ ต้องขอจากผู้ว่าจ้าง
เอกสารเกี่ยวกับที่มาของรายได้
- รายงานรายได้จากธุรกิจส่วนตัว
- หนังสือรับรองการจ่ายเงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุน
- เอกสารแสดงรายได้จากค่าเช่า อาชีพอิสระ หรือรายได้อื่นๆ
เอกสารที่เป็นค่าลดหย่อนภาษีตามสิทธิ์ที่มี
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนคู่สมรส
- ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าลดหย่อนกองทุนออมแห่งชาติ
- ค่าลดหย่อนประกันชีวิต ค่าลดหย่อนประกันสุขภาพ
- ค่าลดหย่อนบริจาค เช่น ให้โรงเรียน พรรคการเมือง
หมายเหตุ : ค่าลดหย่อนภาษีขึ้นอยู่กับว่าคุณสามารถใช้สิทธิ์อะไรได้บ้าง

คำนวณภาษี 2568 คิดยังไง อัตราภาษีบุคคลธรรมดา คืออะไร?
การเข้าใจอัตราภาษีบุคคลธรรมดาและวิธีการคำนวณภาษี 2568 คือขั้นตอนสำคัญในการวางแผนภาษีที่ชาญฉลาด! การคำนวณภาษีล่วงหน้าช่วยให้คุณรู้จักการจัดการการเงินส่วนตัว และตรวจสอบสิทธิ์ในการใช้ค่าลดหย่อนภาษีอย่างครบถ้วน เพื่อช่วยลดภาระภาษีที่ต้องจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณอยากรู้ว่าในปี 2568 จะสามารถจ่ายภาษีได้น้อยลงได้อย่างไร บทความนี้จะพาคุณไปหาคำตอบ!
วิธีคำนวณรายได้สุทธิก่อนนำไปคำนวณภาษี 2568
การคำนวณภาษี 2568 ไม่ได้ใช้รายได้ทั้งหมด แต่ต้องนำ “รายได้สุทธิ” มาคำนวณภาษีก่อน ด้วยสูตร “รายได้ทั้งหมด - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนภาษี = รายได้สุทธิ” สมมติว่าเงินเดือนเดือนละ 40,000 บาท เท่ากับว่า 1 ปีมีรายได้ทั้งหมดรวม 480,000 บาท ตามกฎหมายแล้วสามารถลดหย่อนต่างๆ เช่น
- ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
เมื่อนำค่าลดหย่อนภาษีใช้สิทธิ์ได้มารวมกันจะคิดเป็น 169,000 บาท ดังนั้น เมื่อจะคิดรายได้สุทธิ ให้ใช้รายได้ต่อปี - ค่าลดหย่อนภาษี จะคิดเป็น 480,000 - 169,000 บาท คุณจะมีรายได้สุทธิคือ 311,000 บาท ซึ่งรายได้สุทธิก้อนนี้จะถูกนำไปคำนวณภาษี 2568 ในขั้นตอนถัดไป
วิธีคำนวณภาษีตามอัตราภาษีแบบขั้นบันไดปี 2568
โครงสร้างภาษีของประเทศไทยใช้ “อัตราภาษีก้าวหน้า” หรือที่หลายคนคุ้นเคยกันในชื่อ “อัตราภาษีแบบขั้นบันได” ซึ่งหมายความว่า รายได้ที่สูงขึ้นจะถูกหักภาษีในเรทที่เพิ่มขึ้นตาม ฐานภาษีบุคคลธรรมดา ที่กำหนดไว้ โดยระบบนี้ช่วยให้เกิดความเป็นธรรมทางภาษี ใครมีรายได้มากก็จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ส่วนคนที่มีรายได้น้อยก็จะเสียภาษีน้อยลงหรืออาจได้รับการยกเว้น
คำถามที่หลายคนสงสัยคือ “รายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี?” หรือ “เงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเริ่มเสียภาษี?” คำตอบขึ้นอยู่กับโครงสร้างของฐานภาษี ซึ่งจะมีการกำหนดเรทภาษีเป็นช่วงๆ โดยรายได้สุทธิในแต่ละช่วงจะถูกคำนวณภาษีตามอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้

ซึ่งการคำนวณภาษี 2568 ก่อนจะยื่นภาษีออนไลน์กับกรมสรรพากร ให้นำรายได้สุทธิมาคำนวณตามขั้นบันได จากตัวอย่างมีรายได้สุทธิ 311,000 บาท เมื่อคิดตามฐานภาษีหรือเรทภาษีขั้นบันได จะได้เป็น
- ขั้นที่ 1 : รายได้ 0 - 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
- ขั้นที่ 2 : รายได้ส่วนที่เกิน 150,000 - 300,000 บาท เสียภาษีในอัตรา 5% → 150,000 x 5% = 7,500 บาท
- ขั้นที่ 3 : รายได้ส่วนที่เกิน 300,000 - 311,000 บาท เสียภาษีในอัตรา 10% → 11,000 x 10% = 1,100 บาท
ดังนั้น รายได้สุทธิ 311,000 บาทจะต้องจ่ายภาษีประจำปีที่ 8,600 บาท ซึ่งถ้ามีค่าลดหย่อนภาษีอื่นๆ ที่ใช้ได้ก็ควรใช้คู่กันไปด้วยจะได้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดโดยไม่เสียสิทธิ์

รู้ไว้ก่อนใช้สิทธิ์ ค่าลดหย่อนภาษีปี 2568 มีอะไรบ้าง
ก่อนที่จะยื่นภาษีออนไลน์ กรมสรรพากร ต้องเช็กลิสต์ก่อนว่าในปีภาษี 2568 ค่าลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง จะได้ช่วยประหยัดค่าภาษีได้มากขึ้น โดยค่าลดหย่อนภาษีปี 2568 แบ่งออกเป็น 5 หมวดคือ
ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
ค่าลดหย่อนภาษีที่เป็นสิทธิพื้นฐานที่ผู้เสียภาษีทุกคนสามารถใช้ได้
- ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว ลดหย่อนแบบไม่มีเงื่อนไข 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนภาษีคู่สมรส ที่คู่สมรสที่จดทะเบียนต้องไม่มีรายได้ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนภาษีบุตร ถ้าเป็นบุตรตามกฎหมายลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท และบุตรที่เกิดในปี 2561 เป็นต้นไป สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท (ไม่จำกัดจำนวน) บุตรบุญธรรม 30,000 บาทต่อคน (รวมกันไม่เกิน 3 คน)
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อคน (รวมบิดามารดาของคู่สมรส) และบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนกรณีที่อุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ ใช้สิทธิได้คนละ 60,000 บาท (มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท)
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันสังคม
- เงินประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 9,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป หรือ เบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งกรมธรรม์ต้องมีระยะการคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 200,000 บาท ถ้าไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนแบบทั่วไปสามารถลดหย่อนได้เพิ่มอีก 100,000 รวมลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพของบิดาและมารดา ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งบิดาและมารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท แต่ไม่จำเป็นต้องอายุ 60 ปีขึ้นไป
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการออมและการลงทุน
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปีรวมกัน แต่เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ThaiESG) ลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 300,000 บาท โดยต้องถือหน่วยลงทุนมากกว่า 5 ปีขึ้นไป (นับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุน)
- เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการบริจาค
- เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10% ของรายได้หลักหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มอื่นๆ
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
- ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย เช่น คอนโด บ้าน ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท
- เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่ลงทุนตั้งแต่ปี 2564 นำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
- Easy E-Recipt 2.0 ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.- 28 ก.พ. 2568 ลดหย่อนได้ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1) ลดหย่อนได้ 30,000 บาท โดยซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจด VAT และไม่ได้จด VAT และ 2) ลดหย่อนได้ 20,000 บาท โดยต้องเป็นสินค้า OTOP หรือสินค้าและบริการจากวิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม และต้องมีหลักฐานเป็นใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้สำหรับลดหย่อนภาษีปี 2568

จะซื้อประกันลดหย่อนภาษียังไงดีให้คุ้มค่าที่สุด?
การเตรียมตัววางแผนลดหย่อนภาษีเอาไว้ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว อย่ารอให้ถึงโค้งสุดท้ายช่วงวันยื่นภาษีออนไลน์ แล้วค่อยมาวางแผนลดหย่อนภาษี สมมติว่า นาย A มีสิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่ใช้ได้ในปี 2568 คือ
ค่าลดหย่อนภาษีพื้นฐาน
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา 30,000 บาท
- ค่าประกันสังคม ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท
ค่าลดหย่อนจากประกัน
- ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ (กรมธรรม์คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท โดยนาย A ซื้อ 50,000 บาท จึงใช้สิทธิ์ได้เต็มจำนวน
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของรายได้ (ไม่เกิน 200,000 บาท) โดยนาย A ซื้อ 200,000 บาท จึงใช้สิทธิ์ได้เต็มจำนวน
- ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท โดยนาย A ซื้อ 25,000 บาท จึงใช้สิทธิ์ได้เต็มจำนวน
- ประกันสุขภาพพ่อแม่ ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท โดยนาย A ซื้อให้พ่อแม่รวมกัน 30,000 บาท แต่ใช้สิทธิ์ได้แค่ 15,000 บาท
ถ้าอยากซื้อประกันชีวิตเอาไว้ใช้คุ้มครองชีวิตและสุขภาพ แถมยังได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีควบคู่กันไปด้วย ก็สมัครประกันชีวิตได้กับ บัตรเครดิตอิออน หรือ สินเชื่อดิจิทัลยัวร์แคช*ไม่ต้องจ่ายเต็มทีเดียว ผ่อนประกัน ได้ 0% นานสูงสุด 10 เดือน สมัครง่ายผ่าน AEON MOBILE Application ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android ดูแลตัวเองวันนี้ แถมจัดการภาษีไปในตัว ผ่อนง่ายๆ แค่คลิกเดียวจบ!
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
*ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 22%-25% ต่อปี
*กู้เท่าที่จำเป็น และชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 22%-25% ต่อปี
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า 4 เรื่องที่ต้องรู้ก่อน ยื่นภาษีออนไลน์ 2568 ที่อิออนนำมาฝากกันในบทความนี้จะช่วยให้คุณเตรียมตัวคำนวณภาษี วางแผนลดหย่อนภาษี 2568 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่พลาดโอกาสการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีปี 2568 อย่าลืมว่าถ้ามองหาประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่อยากจ่ายเต็มในครั้งเดียว อิออนช่วยให้คุณผ่อนได้สบายๆ
กลับไปที่รายการ